เปรียบเทียบตารางผ่อนบ้าน 2 แบบ ช่วยให้ผ่อนบ้านหมดไวกว่ากัน ระหว่างการชำระหนี้บ้านเกินทุกงวด

และการโปะหนี้บ้านเพียงปีละครั้ง แบบไหนจะช่วยลดดอกเบี้ยและช่วยให้จ่ายค่าผ่อนบ้านน้อยกว่า

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไว

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไว พูดกันง่าย ๆ ก็คือการใช้หนี้ให้มากกว่าที่กำหนดไว้ หรือมากกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดที่ระบุไว้ในสินเชื่อ เพื่อให้มีจำนวนเงินไปหักชำระเงินต้นมากขึ้น หรือการไปหักยอดหนี้ออกโดยตรงนั่นเอง ซึ่งเราได้พิสูจน์ให้ชมไปแล้วในครั้งก่อนในบทความเรื่อง โปะหนี้บ้านให้หมดไวอย่างได้ผล โดยพบว่าการโปะหนี้บ้านนั้นช่วยให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น และเสียดอกเบี้ยทั้งหมดลดลงได้จริง

อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไวนั้นสามารถทำได้ทั้งการกระจายเงินเพื่อชำระเงินเกินในแต่ละงวดด้วยจำนวนเงินน้อย ๆ อาจจะเป็นการชำระเกินทุกงวด หรือจะเป็นการชำระเกินด้วยจำนวนเงินมาก ๆ เพียงก้อนเดียว ด้วยการโปะเพิ่มปีละครั้งก็สามารถทำได้เช่นกัน

แม้ว่าการผ่อนบ้านด้วย 2 วิธีนี้ โดยรวมจะเป็นการโปะเงินเข้าไปด้วยจำนวนเงินเท่า ๆ กัน แต่ทั้ง 2 วิธีการนั้นให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ลองมาดูตารางผ่อนบ้านที่นำมาเปรียบเทียบให้เห็นกันว่าแต่ละวิธีจะมีผลต่อการผ่อนบ้านอย่างไรบ้าง

 

เคล็ดลับผ่อนบ้านให้หมดไว

 

ตัวอย่างที่นำมาเปรียบเทียบในครั้งนี้เป็นการผ่อนบ้าน วงเงินกู้ 3,500,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี หรือ 360 งวด ซึ่งจะตัดตอนมาแสดงการผ่อนสินเชื่อในช่วงเวลา 2 ปีแรก (งวด 1-24) โดยกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 3 ต่อปี สำหรับการผ่อนชำระในปีที่ 1 นั้นจะเหมือนกันทั้ง 2 ทางเลือก แต่ประเด็นความแตกต่างจะเกิดขึ้นในปีที่ 2 ของการผ่อนชำระ

– ทางเลือกที่ 1 จะเพิ่มจำนวนเงินผ่อนชำระต่องวดในทุก ๆ งวด (งวดที่ 13-24) ให้มากขึ้นกว่าจำนวนเงินชำระต่องวดในปีแรก (งวดที่ 1-12)

– ทางเลือกที่ 2 จำนวนเงินชำระต่องวดจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในงวดสุดท้าย (งวดที่ 24) เพียงงวดเดียว

แม้ว่าการผ่อนบ้านทั้ง 2 ทางเลือกนั้นจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดจากจำนวนเงินที่กำหนดให้ชำระขั้นต่ำจะรวมแล้วไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือช่วงเวลาที่ชำระเงินออกไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างของยอดหนี้คงเหลือและจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด ณ สิ้นงวดที่ 24

โดยการเปรียบเทียบนั้นยังคงใช้ตารางการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก ซึ่งเราเคยอธิบายหลักการผ่อนสินเชื่อแบบลดต้นลดดอกไว้ในบทความ รู้จักวิธีผ่อนบ้านแบบลดต้นลดดอก

 

ทางเลือกที่ 1 ชำระเกินทุกงวด

ผ่อนบ้าน วงเงินกู้ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด จากนั้นในปีที่ 2 (งวด 13-24) ให้ชำระเกิน โดยเพิ่มจำนวนเงินขึ้นอีก 3,000 บาทในทุก ๆ งวด ซึ่งเท่ากับชำระ 13,500 บาทต่องวด รวมจำนวนเงินที่ชำระเกินตลอดปีที่ 2 (งวดที่ 13-24) ทั้งหมด 12 งวดเท่ากับ 36,000 บาท โดยในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี แสดงการผ่อนสินเชื่อสำหรับทางเลือกที่ 1 ได้ตามตารางด้านล่าง

 

ตัวอย่าง ตารางผ่อนบ้าน ชำระเกินทุกงวด สำหรับวงเงินกู้ 3,500,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย 3%

ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 1-13ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 14-24

จากตารางผ่อนบ้านด้านบน แสดงให้เห็นการผ่อนสินเชื่อตามปกติในปีที่ 1 และเริ่มมีการผ่อนชำระเกินในปีที่ 2 เริ่มตั้งแต่งวดที่ 13 ถึงงวดที่ 24 โดยเพิ่มจำนวนเงินชำระต่องวดจาก 10,500 บาทต่องวด เป็น 13,500 บาทต่องวด  รวมแล้วจำนวนเงินที่ชำระเกินมาตลอดทั้งปีที่ 2 เท่ากับ 36,000 บาท รวมจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกถึงสิ้นปีที่ 2 เท่ากับ 288,000 บาท

โดยในจำนวนนี้แบ่งไปเพื่อชำระดอกเบี้ยทั้งหมด 205,335.19 บาท และหักออกจากเงินต้นทั้งหมด 82,664.80 บาท ทำให้ ณ สิ้นสุดปีที่ 2 หรืองวดที่ 24 เหลือยอดหนี้คงเหลือ 3,417,335.20 บาท  และเมื่อผ่อนชำระเกินด้วยจำนวนเงินเท่าเดิมต่อเนื่องไปถึงปีที่ 20 (ถึงงวดที่ 240) จะแสดงได้ดังตารางผ่อนบ้านด้านล่างนี้

ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกิดทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 24-36ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 54-72ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 94-112ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 124-142ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 164-182ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 194-212ตารางผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวด ตั้งแต่งวดที่ 226-240

 

เมื่อผ่อนสินเชื่อต่อเนื่องไปถึงงวดที่ 240 ด้วยการชำระเกินอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่คงที่ จะพบว่าเมื่อสิ้นสุดปีที่ 20 หรืองวดที่ 240 จะมีจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด 3,204,000 บาท โดยในจำนวนนี้แบ่งไปชำระดอกเบี้ย 1,676,353.12 บาท และชำระเงินต้น 1,527,646.86 บาท และมียอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 24 เท่ากับ 1,972,353.14 บาท

 

ทางเลือกที่ 2 โปะเพิ่มปีละครั้ง

ผ่อนบ้านที่วงเงินกู้เท่ากับทางเลือกที่ 1 คือ 3,500,000 บาท โดยในปีแรก (งวดที่ 1-12) นั้นผ่อนชำระ 10,500 บาทต่องวด และในปีที่ 2 นั้นงวดที่ 13-23 (จำนวน 11 งวด) ยังคงผ่อนชำระเท่าเดิมคืองวดละ 10,500 บาท

แต่ให้ชำระเกินในงวดสุดท้ายของปีที่ 2 (งวดที่ 24) เพิ่มขึ้นอีก 36,000 บาท (ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่ชำระเกินทั้งหมดของทางเลือกที่ 1)

รวมเงินที่จะชำระในงวดที่ 24 เท่ากับ 46,500 บาท ในช่วงเวลา 2 ปีนี้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี เช่นเดียวกันกับทางเลือกที่ 1 โดยแสดงการผ่อนสินเชื่อตามทางเลือกที่ 2 ได้ดังตารางผ่อนบ้านด้านล่าง

 

ตัวอย่าง ตารางผ่อนบ้าน โปะเพิ่มปีละครั้ง สำหรับวงเงินกู้ 3,500,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ย 3%

ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 1-13ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 14-24

จากตารางแสดงการผ่อนสินเชื่อด้านบน แสดงให้เห็นการผ่อนสินเชื่อตามปกติในปีที่ 1 และในปีที่ 2 ตั้งแต่งวดที่ 13-23 และมีการผ่อนชำระเกินเพียงงวดเดียวคือในงวดสุดท้ายของปีที่ 2 (งวดที่ 24)

โดยชำระเกินจำนวน 36,000 บาท ทำให้จำนวนที่ชำระไปในงวดที่ 24 เท่ากับ 46,500 บาท รวมจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกถึงสิ้นปีที่ 2 เท่ากับ 288,000 บาท

โดยในจำนวนนี้แบ่งไปเพื่อชำระดอกเบี้ยทั้งหมด 205,827.44 บาท และหักออกจากเงินต้นทั้งหมด 82,172.57 บาท ทำให้ ณ สิ้นสุดปีที่ 2 หรืองวดที่ 24 เหลือยอดหนี้คงเหลือ 3,417,827.43 บาท

และเมื่อผ่อนชำระต่อเนื่องไปถึงปีที่ 20 (ถึงงวดที่ 240) โดยให้ผ่อนชำระเกินจำนวนเท่าเดิมในทุก ๆ งวดสุดท้ายของแต่ละปี จะแสดงได้ดังตารางผ่อนบ้านด้านล่างนี้

ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 24-36ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 54-72ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 94-112ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 124-142ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 164-182ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 194-212ตารางผ่อนบ้าน แบบโปะเพิ่มปีละครั้ง งวดที่ 226-240

เมื่อผ่อนสินเชื่อต่อเนื่องไปถึงงวดที่ 240 ด้วยการชำระเกินอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่คงที่เฉพาะในงวดสุดท้ายของแต่ละปี (แถบไฮไลท์สีชมพู) จะพบว่าเมื่อสิ้นสุดปีที่ 20 หรืองวดที่ 240 จะมีจำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด 3,204,000 บาท

โดยในจำนวนนี้แบ่งไปชำระดอกเบี้ย 1,688,716.20 บาท และชำระเงินต้น 1,515,283.86 บาท ทำให้มียอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 24 เท่ากับ 1,984,716.14 บาท

 

ตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินผ่อน เงินต้น ดอกเบี้ย ระหว่างการชำระเกินทุกงวดและการโปะเพิ่มปีละครั้งในช่วง 2 ปี  

จำนวนเงินชำระเกินทั้งหมด
36,000 บาท
36,000 บาท
จำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด
288,000 บาท
288,000 บาท
 จำนวนดอกเบี้ยที่ชำระทั้งหมด
205,355.19 บาท
205,827.44 บาท
จำนวนเงินชำระเงินต้นทั้งหมด
82,664.80 บาท
82,172.57 บาท
ยอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 24
3,417,335.20 บาท
3,417,827.43 บาท

ตารางเปรียบเทียบจำนวนเงินผ่อน เงินต้น ดอกเบี้ย ระหว่างการชำระเกินทุกงวดและการโปะเพิ่มปีละครั้งในช่วงเวลา 20 ปี  

จำนวนเงินผ่อนชำระทั้งหมด
3,204,000 บาท
3,204,000 บาท
จำนวนดอกเบี้ยที่ชำระทั้งหมด
1,676,353.12 บาท
1,688,716.20 บาท
จำนวนเงินชำระเงินต้นทั้งหมด
1,527,646.86 บาท
1,515,283.86 บาท
ยอดหนี้คงเหลือ ณ งวดที่ 240
1,972,353.14 บาท
1,984,716.14 บาท

 

จากตารางเปรียบเทียบแสดงให้เห็นถึงพลังในการหักล้างยอดหนี้ซึ่งช่วยผ่อนบ้านให้หมดไวขึ้นของทางเลือกที่ 1 ซึ่งก็คือการชำระเกินทุกงวดที่เหนือกว่าทางเลือกที่ 2 อย่างการโปะเพิ่มทีละครั้ง ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ทางเลือกจะชำระเกินในจำนวนเงินเท่า ๆ กันก็ตาม

สังเกตจากจำนวนเงินผ่อนชำระที่เท่ากันทั้ง 2 ทางเลือก แม้ว่าในช่วง 2 ปี หรือ 24 งวด ยอดหนี้คงเหลือของทางเลือกที่ 1 จะน้อยกว่าทางเลือกที่ 2 เพียง 492.23 บาท ซึ่งหมายถึงทางเลือกที่ 1 การชำระเกินทุกงวด สามารถผ่อนชำระเงินต้นได้มากกว่าทางเลือกที่ 2 โปะเพิ่มปีละครั้ง

สังเกตได้จากจำนวนเงินชำระเงินต้นทั้งหมดที่มากกว่า และเมื่อยืดระยะเวลาผ่อนบ้านให้ยาวนานออกไปอีกเป็น 20 ปี หรือ 240 งวด ก็จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้น โดยจะพบว่าการผ่อนชำระเกินทุกงวดยังคงลดยอดหนี้ได้มากกว่าการโปะด้วยจำนวนเงินก้อนเดียวปีละครั้ง โดยแตกต่างกันมากถึง 12,363 บาท

ถ้าหากจำนวนเงินผ่อนชำระมากกว่านี้ อัตราดอกเบี้ยสูงกว่านี้ รวมไปถึงวงเงินกู้ที่มากกว่า และระยะเวลาผ่อนบ้านที่ยาวนานกว่าก็จะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมากขึ้นไปอีก

 

ชำระเกินทุกงวดและโปะเพิ่มปีละครั้งเหมาะสมกับใคร

การผ่อนบ้านแบบชำระเกินทุกงวดนั้นเหมาะสมกับคนที่มีรายได้และรายจ่ายค่อนข้างคงที่ ทำให้สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้าได้ค่อนข้างแม่นยำ จึงไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากนักหากจะกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อชำระส่วนเกินเพิ่มขึ้นไปอีกในแต่ละงวด ซึ่งจะเป็นวิธีการผ่อนบ้านที่ดีกว่าการรอนำเงินก้อนใหญ่เพียงก้อนเดียว เช่น เงินโบนัส ซึ่งมีไม่กี่ครั้งในแต่ละปีมาโปะยอดหนี้

ส่วนวิธีการผ่อนบ้านแบบโปะเงินจำนวนมากนั้นเหมาะสมกับอาชีพที่รายได้ไม่คงที่ และไม่สม่ำเสมอ เช่น พนักงานขาย หรืออาชีพอิสระ ที่จะได้รับค่าจ้างหรือค่าคอมมิสชั่น เมื่อปิดงานหรือปิดการขายได้เป็นครั้งไปจึงอาจไม่สามารถผ่อนบ้านแบบชำระเกินได้ทุกงวด

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 วิธีแสดงให้เห็นว่าเราควรผ่อนบ้านแบบจ่ายเงินเกินเพื่อชำระเงินต้นทุกครั้งที่มีโอกาส ไม่ว่าจะผ่อนบ้านแบบชำระเกินด้วยจำนวนน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ หรือผ่อนบ้านแบบโปะด้วยจำนวนเงินมากแต่นาน ๆ ครั้ง เพราะการผ่อนบ้านทั้ง 2 วิธีสามารถช่วยลดยอดหนี้ได้โดยตรงและเห็นผลได้อย่างชัดเจน

แต่หากคุณอยู่ประสบปัญหาผ่อนชำระไม่ได้ ควรผ่อนชำระปกติหรือพักชำระหนี้ อ่านเพิ่มเติมได้จากธนาคารแห่งประเทศไทย

เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์ นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ kittikom@ddproperty.com

Cr. https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/ผ่อนบ้านให้หมดไว-ชำระเกินทุกงวด-โปะเพิ่มปีละครั้ง-4306?gclid=EAIaIQobChMIrIiY_r398gIVgTgrCh1r_QWjEAAYBCAAEgL4xvD_BwE&utm_campaign=con-se-gse-nlc-prop–44013-cmtth1&utm_medium=cpc&utm_source=google

ARE YOU INTERESTED

IT'S TIME TO DISCOVER

THE BUILDING

BUILDING LOCATION

Motivation can take you far, but it can take you even further if you first find your vision. Your vision will motivate and guide you on

ADDRESS:

Logan Barker, 865 Oak Boulevard, Elk Grove, Vermont 95184
Phone:

012-345-6789

E-mail:

email.support@maisonco.com

CONTACT AGENT

William Jacobs

CERTIFIED AGENT

ENQUIRE

    ©Rattanasup 2023. All rights reserved.